วันพฤหัสบดีที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2552

นิทานเรื่องคลอดลูก

มีแมวอยู่ 1ตัว
วันที่1แม่แมวออกลูกมา 2ตัว
วันที่2แม่แมวออกลูกมา1ตัว
วันที่3แม่แมวออกลูกมาอีก3ตัว
สุดท้ายแล้วแม่แมวมีลูกกี่ตัว

วันพฤหัสบดีที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

บันทึกหลังเรียน กิจกรรมเสริมประสบการณ์ 5/2/52

อาจารย์ ให้ทำกิจกรรมเสริมประสบการณ์ และให้หัวข้อในการรายงานต่อคน

วันที่ 1ลักษณะ สี ,รูปร่าง ,รูปทรง
- ให้ใช้คำถามแบบปลายเปิด,ปลายปิด
- อาจมีการทบทวนคำถาม
มีกิจกรรม
1. นับจำนวนนกทั้งหมดกี่ตัว
2. นับจำนวนสีนก
3. นับประเภทของนก


วันที่ 2 ส่วนประกอบ ได้แก่
เตรียมอุปกรณ์ให้พร้อม

วันที่ 3ประโยชน์
- อาจจะเล่านทานให้เด็กฟ้ง
- จัดกิจกรรมให้เด็กทำ
- เพื่อประโยชน์การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน และเป็นการเตรียมความพร้อมให้แก่นักเรียน

วันพฤหัสบดีที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2552

หน่วยนก

กิจกรรมคณิตศาสาตร์
หน่วยนก
สมาชิกกลุ่ม
นางสาว วิภาดา แดงพรม
นางสาว สิริพร อนันต์
นางสาว สุกานดา พันธุ์วิจิตร

ชื่อ กิจกรรมนกหรรษา
วิธีการดำเนินกิจกรรม
การนับ
1.นับจำนวนนกทั้งหมดว่ามีกี่ตัว
2.นับจำนวนสีของนก
3.นับประเภทของนก
ตัวเลข
1. ครูวางภาพของนกแล้วให้เด็กเอาสัญญาลักษณ์มาวางตามจำนวนนก
2.ให้เด็กวางสัญลักษณ์ตามประเภทของนก

การจับคู่
1.ครูให้เด็กจับคู่ตามขนาดของนก
2.ครูให้เด็กจับคู่ตามสีของนก
3.ครูให้เด็กจับคู่ประเภทของนก
การจัดประเภท
1.ครูให้เด็กจัดประเภทของนกแต่ละชนิด
2.ครูให้เด็กจัดประเภทสีของนก
3.ครูให้เด็กจัดประเภทขนาดของนก
การเปรียบเทียบ
1.ครูให้เด็กเปรียบเทียบสีของนกแต่ละชนิด
2.ครูให้เด็กเปรียบเทียบขนาดของนกแต่ละชนิด
3.ครูให้เด็กเปรียบเทียบลักษณะของนกแต่ละชนิด
การจัดลำดับ
1.ครูให้เด็กจัดลำดับขนาดของนก
2.ครูให้เด็กจัดลำดับประเภทของนก
3.ครูให้เด็กจัดลำดับสีของนก
รูปทรงและเนื้อที่
1.ครูให้เด็กเลือกกรงนกที่มีเนื้อที่เหมาะสมกับตัวนก
2.ครูให้เด็กเลือกภาชนะใส่อาหารให้เหมาะสมกับคัวนก


การวัด
1.ครูให้เด็กวัดขนาดปีกของนก
2.ครูให้เด็กวัดรอบหัวของนก
3.ครูให้เด็กวัดความยาวของตัวนก
เซท
1.ครูให้เด็กเซทนกตามสี
2.ครูให้เด็กเซทนกตามขนาด
3.ครูให้เด็กเซทนกตามประเภท
เศษส่วน
1.มีนกอยู่2ตัวให้เพื่อนไปเลี้ยง1ตัว อีกตัวหนึ่งนำไปปล่อย
2. นำรูปนก2ตัวมาใส่ในกรงอีก1ตัวใส่ในตะกร้า
การทำตามแบบหรือลวดลาย
1.เอาสีของภาพนกมา
2. ขนาด
3.รูปทรง
4. พื้นที่
การอนุรักษ์
1.นกทีใส่กรงกับนกที่ใส่กล่อง

หน่วยนก


วันพุธที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2551

หลังเลิกเรียน

อาจารย์สอนเรื่องการเตรียมความพร้อมในเด็กให้เก่งคณิตศาสตร์นั้น จะต้องฝึกให้เด็กมีพัฒนาการทางด้านสายตาก่อนเป็นอันดับแรก ถ้าเด็กไม่สามารถใช้สายตาในการจำแนกจัดแบ่งประเภทแล้ว เด็กก็จะมีปัญหาด้านการเรียนรู้กับคณิตศาสตร์ได้ หลักการสอนคณิตศาสตร์ของครูปฐมวัยที่ดีนอกจากจะต้องเข้าใจถึงพัฒนาการธรรมชาติของเด็ก การเรียนรู้ของเด็ก และขอบข่ายของหลักสูตรอย่างลึกซึ้งได้แล้ว ยังต้องเป็นผู้ที่รู้และเข้าใจหลักการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยอย่างดีอีกด้วย
1 .สอนให้สอดคล้องกับชีวิตประจำวัน
2 .เปิดโอกาสให้เด็กรับประสบการณ์ที่ทำให้พบคำตอบด้วยตัวเอง
3. มีเป้าหมายและมีการวางแผนอย่างดี
4 .เอาใจใส่ในเรื่องการเรียนรู้และลำดับขั้นตอนการพัฒนาความคิดรวบยอดของเด็ก
5 .ใช้วิธิการจดบันทึกพฤติกรรมหรือระเบียบพฤติกรรมเพื่อใช้ในการวางแผนและจัดกิจกรรม
6 .ใช้ประโยชน์จากประสบการณ์เดิมของเด็ก
7 .รู้จักใช้สถานการณ์ขณะนั้นให้เกิดประโยชณ์
8 .ใช้วิธีสอดแทรกกับชีวิตจริง เพื่อสอนความคิดรวบยอดที่ยากๆ
9 .ใช้วิธิให้เด็กมีสวนร่วมหรือปฎิบัติการณ์จริงที่เกี่ยวกับตัวเลข
10. วางแผนส่งเสริมให้เด็กเกิดการเรียนรู้ ทั้งที่โรงเรียนและที่บ้านอย่างต่อเนื่อง
11. บันทึกปัญหาการเรียนรู้ของเด็กอย่างสม่ำเสมอเพื่อแก้ไขปรับปรุง
12 .คาบหนึ่งควรสอนความคิดรวบยอดเดียว
13 .นำกระบวนการการเล่นจากง่ายไปยาก
14 .ครูควรสอนสัญลักษณ์ตัวเลขหรือเครื่องหมายให้เด็กเข้าใจ

วันพฤหัสบดีที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

หลังเลิกเรียน 27/11/51

-ขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัยศึกษา
การจัดหลักสูตรจะต้องมีความสมดุลและอาศัยครูที่มีวิชาความรู้ และมีความเข้าใจเกี่ยวกับขอบข่ายของคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย นั่นคือครูจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างลำดับขั้นการพัฒนาการของเด็กกับกระบวนการสอนและเนื้อหาทางคณิตศาสตร์
-ขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัยศึกษาควรประกอบด้วยหัวข้อของเนื้อหาหรือทักษะดังต่อไปนี้
1. การนับ (counting)
2. ตัวเลข (Numeration)
3. การจับคู่ (Matching)
4. การจัดประเภท (Classification)
5. การเปรียบเทียบ (Comparing)
6. การจัดลำดับ (Ordering)
7. รูปทรงและเนื้อที่ (Shape and Space)
8. การวัด (Measurement)
9. เซท (Set)
10. เศษส่วน (Fraction)
ลักษณะหลักสูตรที่ดี
มีความสมดุลในเรื่องต่อไปนี้
-เน้นกระบวนการคิดและการพัฒนาความคิดรวบยอด
-เน้นการเรียนรู้ภาและการใช้ภาพูดที่สัมพันธ์กับกิจกรรมในชีวิตประจำวันไม่ใช่การท่องจำ
-แนะนำคำศัพท์ใหม่ๆและสัญลักษณ์อย่างค่อยเป็นค่อยไป
-เสริมสร้างให้เด็กเกิดความเชื่อมั่นและค้นคว้าข้อมูลเพื่อให้ได้คำตอบ
-ส่งเสริมให้เกิดการรับรู้สามารถบรรยายและค้นคว้าเพิ่มเติม
-เน้นให้เด็กเกืดความคิดรวบยอดมีทักษะคณิตศาสตร์ไปพร้อมๆกัน
-เปิดให้เด็กได้ค้นคว้าสำรวจ ปฏิบัติ รู้จักตัดสินใจด้วยตนเอง